หลักของการจัดวางองค์ประกอบภาพให้ภาพที่เราถ่ายออกมาน่าสนใจมากขึ้นซึ่งก็คือ “กฎสามส่วน (Rule of Third)” หรือ “กฎจุดตัดเก้าจุด” ซึ่งหมายถึง การแบ่งภาพออกเป็นสามส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน จากนั้นใช้เส้นแบ่งส่วนเป็นเส้นไกด์ในการวางองค์ประกอบของภาพ โดยนิยมจัดวางตจำแหน่งจุดเน้นหรือจุดสนใจของภาพไว้ในตำแหน่งจุดตัดของเส้นแบ่งส่วน และใช้เส้นแบ่งส่วนเป็นเส้นแบ่งพื้นกับผนัง หรือ แบ่งพื้นดินกับท้องฟ้าเป็นต้น
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การจัดองค์ประกอบภาพ
เออวิง เพนท์ นักถ่ายภาพบุคคลและโฆษณาเคยกล่าวไว้ว่า "ภาพที่ดีต้องเปิดตามผู้ดูให้ลุกโพลง" การที่เราจะสรต้างภาพที่ดีต้องประกอบไปด้วย ความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ และศิลปะในการจัดวางภาพ ดังนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาในการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายไม่ยิ่งหย่อยไปกว่าเรื่องอื่นๆ หลักในการจัดองค์ประกอบเบื้องต้นที่จะกล่าวถึงมีสิ่งที่สังเกตจากการมองเห็น โครงสร้างขององค์ประกอบภาพถ่าย การจัดองค์ประกอบภาพทิวทัศน์ การจัดองค์ประกอบแบบใช้กฎสามส่วน และการจัดองค์ประกอบแบบให้กฎอัตราส่วนทองคำ
สิ่งที่สังเกตได้จากการมองเห็น
การที่นักถ่ายภาพสามารถใช้กล้อง และเข้าใจกระบวนการเกิดภาพของภาพถ่ายที่ดีแล้ว ควรจะมีสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งคือมุมมองในการจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อให้ภาพนั้นสื่อกับผู้มองภาพโดยไม่น่าเพื่อ การมองสามารถแยกเป็นสิ่งที่สังเกตได้จากวัตถุจำแนกได้พอสังเขปดังนี้
- รูปร่าง (Shape) และช่องว่าง (Space)
- รายละเอียดพื้นผิว (Texture)
- รูปทรง (Form)
- แพทเทิร์น (Pattern)
- เส้น (Line) และทิศทาง (Direction) บอกระยะไกล้ ไกล
- สี (Color)
วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การปรับค่าที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ
ISO หรือความไวแสง เช่น ISO100, ISO400, ISO1600 เป็นต้น ค่าความไวแสยิ่งต่ำยิ่งคมชัด มีนอยส์ (เม็ดเกร็น) เกิดขึ้นน้อย แต่จะทำให้ความเร็วชัตเตอร์ตำลง ในทางกลับกัน ถ้า ISO สูงขึ้น ความเร็วชัตเตอร์ก็จะสูงขึ้น แต่ผลของภาพที่ได้ มีโอการเกิดน๊อยส์เยอะขึ้น โดยเฉพาะบริเวณเงา
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ช่วงความคมชัด ( Depth of field )
จากการหรี่หรือขยายขนาดช่องรับแสงนั้น จะมีผลเกิดผลพิเศษกับภาพถ่ายขึ้น คือ เกิด ช่วงความคมชัดของภาพ กล่าวคือถ้าเปิดขนาดช่องรับแสงกว้างมาก ช่วงความคมชัดในการถ่ายภาพจะน้อยลง และถ้าหรี่ขนาดช่องรับแสงให้เล็กลง ช่วงความคมชัดก็จะมากขึ้น
ความสัมพันธ์ ชัตเตอร์กับรูรับแสง
1. รูรับแสงบนเลนส์ ทำหน้าที่ จำกัด ปริมาณ ของแสง ที่เข้ามา
2. รูรับ แสงสร้างผลในเรื่องของความชัดลึก และชัดตื้น
3. ชัตเตอร์ จะทำหน้าที่คอยเปิด-ปิดม่าน เพื่อให้ได้ผลของภาพ ตามเวลา ที่กำหนดไว้
ชัตเตอร์ (Shutter)
ชัตเตอร์หรือความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) เป็นกลไกอัตโนมัติที่ใช้ สาหรับเปิด-ปิด ทางที่แสง จะผ่านเข้าไปทาปฏิกิริยากับฟิล์ม ตามเวลาที่กำหนด ความ เร็วในการเปิด-ปิดชัตเตอร์ก็คือ เวลาที่ฉาย แสง (Exposure time) มีค่าเป็นเศษส่วน ของวินาทีดังนี้ 1/1 1/2 1/4 1/8 1/15 1/30 1/60 1/125 1/250 1/500 1/1000 และ 1/2000 วินาที เป็นต้น (ซึ่งในกล้องที่ มีระบบการทางาน ทันสมัย จะมีความเร็วชัตเตอร์ที่สามารถแบ่งได้ละเอียดและสูงขึ้น จนถึง 1/12000 วินาทีทีเดียว) ตัวเลข เหล่านี้มักจะแสดงไว้ที่ แป้นปรับความเร็วชัตเตอร์ โดยจะบอกตัวเลขความเร็วชัตเตอร์ ไว้เฉพาะตัวเลขที่เป็นส่วนของวินาที คือ 1 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 และ 2000 เป็นต้น
ไดอะแฟรม (Diaphragm)
ในตัวเลนส์ จะมีกลไกชิ้นหนึ่งที่ใช้ ในการควบคุมปริมาณแสงให้แสงผ่านเลนส์ ไปยังฟิล์มได้มากน้อยตามความต้องการเรียกว่า ไดอะแฟรม มีลักษณะเป็นแผ่น โลหะสีดำบางๆ หลายแผ่นเรียงซ้อนกันเป็นกลีบ มีช่องตรงกลางปรับขนาดให้กว้าง หรือแคบได้เรียกว่า รูรับแสง (Aperture) การปรับขนาดรูรับแสงใช้การปรับที่วง แหวนรูรับแสงบนกระบอกเลนส์
การควบคุมรูรับแสง ช่วงรูรับแสงแต่ละค่าหรือแต่ละ F-NUMBER นั้นจะให้ปริมาณแสงผ่านเลนส์ในปริมาณที่แตกต่างกัน เมื่อใช้รูรับแสงแคบสุดที่ f/16 ปริมาณแสงจะผ่านไปได้น้อย ถ้าใช้ f/5.6 ปริมาณแสงจะผ่านได้มากขึ้นและมากที่สุดถ้าเปิดรูรับแสงกว้างสุดที่ f/2
เลนส์ (Lens)
เลนส์เป็นส่วนประกอบสำคัญ ของกล้องถ่ายภาพ ทำมาจากวัสดุโปร่งใส เช่น แก้ว หรือ พลาสติก ทำหน้าที่หักเหแสงสะท้อนจากวัตถุ เกิดภาพจริงหัวกลับบน ระนาบของฟิล์ม เลนส์ของกล้องถ่ายภาพอาจเป็นเลนส์นูนอันเดียวหรือเป็นชุดเลนส์ย่อยๆ หลายอันประกอบกันเพื่อให้สามารถปรับการถ่ายภาพได้หลายรูปแบบ ชิ้นแก้วหรือพลาสติกทุกชั้นที่ประกอบขึ้น เป็นเลนส์เกิดจากความปราณิตในการผลิต เพื่อให้มีความไวในการรับแสง มีคุณภาพคยวามคมชัดถ่ายทอดสีสัน ตลอดจนมีการแยกขยายรายละเอียดขอวัตถุ (Resolution) ได้ดี
ลักษณะของมาตรฐานของกล้องถ่ายภาพ
ลักษณะของมาตรฐานของกล้องถ่ายภาพประกอบไปด้วย
1. กล่องทึบที่แสงเข้าไม่ได้ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเค้าโครงยึดส่วนอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน
2. ชิ้นแก้วที่เรียกว่าเลนส์ สำหรับรวบรมแสงที่สะท้อนมาจากสิ่งที่ถ่ายเพื่อสร้างภาพขึ้นบนฟิล์ม
3. ช่องในเลนส์ที่เลี่ยนขนาดได้ สำหรับควบคุมจำนวนแสงที่ผ่านเข้าไปสู่ฟิล์ม
4. ชัตเตอร์ สำหรับบังคับช่วงเวลาที่แสงเข้าไปสัมพันกับพื้นผิวฟิล์ม
5. ปุ่มกดให้ชัตเตอร์ทำงาน
6. คานสำหรับเลื่อนฟิล์ม (ไม่มีในกล้องดิจิตอล)
7. ช่องมอง ซึ่งเห็นเฉพาะบริวณภาพที่ถ่าย
8. ช่องเสียบไฟแฟลช
ดวงตาของมนุษย์กับกล้องถ่ายภาพ
ดวงตาของมนุญและกล้องถ่ายภาพมีลักษณะคล้ายกัน 2 ส่วนด้วยกันคือ
1. ส่วนที่ทำให้เกิดภาพ ดวงตาของมนุษย์และกล้องถ่ายภาพจะมีเลนส์ซึ่งทำหน้าที่รวมแสงจากวัตถุให้เกิดภาพบนจอตา เลนส์ของกล้องถ่ายภาพมีระบบกลไก เปิด-ปิดให้แสงผ่านเข้าไปยังฉากหลังควบคุมเวลาด้วยซัตเตอร์ (Shutter) ส่วนดวงตาควบคุมด้วยหนังตา (Eyelid) ในส่วนหนึ่งของเลนส์ถ่ายภาพจะมีไดอะแฟรม (Diaphagm) สามารถปรับให้เกิดรูปรับแสง (Aperture) ขนาดต่างๆ เช่นเดียวกับดวงตามนุษย์จะมีส่วนที่เรียกว่าม่านตา (Iris) ซึ่งมีสีดำ ฟ้า หรือสีน้ำตาลแล้วแต่เชื้อชาติ ตรงกลางของม่านตาจะมีช่องกลมที่เรียกว่ารูม่านตา หรือพิวพิล (Pupil) เป็นทางให้แสงผ่านสามารถปรับให้มีขนาดต่างๆ กันโดยอัตโนมัติเช่นในที่ๆ มีแสงสว่างมาก รูม่านตาจะปรับให้มีขนาดเล็ก ในส่วนที่ๆ มีแสงสลัวๆ รูม่านตาจะปรับให้มีขนาดกว้างขึ้น
การถ่ายภาพคืออะไร
การถ่ายภาพมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า ”Photography” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำคือ “Phos” และ “Graphein” Phos หมายถึง แสงสว่าง Graphein หมายถึง การเขียน เมื่อรวมคำทั้งสองแล้วจึงหมายความว่า การเขียนด้วยแสงสว่าง หรือการวาดภาพด้วยแสง
หลักการทำงานพื้นฐานของกล้องถ่ายภาพ คือ การที่แสงสะท้อนจากวัตถุเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆ ของกล่องสี่เหลี่ยม เกิดภาพของวัตถุบนฉากรองรับด้านตรงกันข้าม เป็นภาพหัวกลับ ซึ่งเป็นหลักการสร้างกล้องรูเข็มในสมัยโบราณกล้องถ่ายภาพได้พัฒนาเป็นลำดับ เช่น การนำเอาเลนส์นูนไปติดตั้งที่รูรับแสงที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยรวมแสงให้เข้าไปในตัวกล้องมากขึ้น ด้านตรงข้ามของเลนส์ เป็นตำแหน่งที่วัสดุไวแสงหรือฟิล์ม สามารถปรับตัวเลนส์เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนบนฟิล์ม ได้ มีการติดตั้งไดอะแฟรม ปรับให้เกิดรูรับแสงขนาดต่าง รวมทั้งมีส่วนที่เรียกว่าชัตเตอร์ ทำหน้าที่รวบคุมเวลาในการเปิด-ปิดม่าน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)