หน้าแรก

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เมืองน่าอยู่เชิดชูคุณธรรม

จากเหตุการณ์ที่ผ่านๆ มาในสังคมไทยได้ผ่านประสบการณ์ในการต่อสู้เพื่อให้สังคมได้อยู่อย่างปกติสุขมาหลายเหตุการณ์ ทั้งการเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีการปฏิวัติที่เกิดจากความขัดแย้งของคนกลุ่มน้อยกับคนกลุ่มใหญ่มาหลายครั้งหลายครา จนถึงปัจจุบันนี้ เราต้องเจอกับระบบทุนนิยมที่ทำให้ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อปากท้องของตนเอง จนทำให้ลืมคิดถึงเรื่องคุณธรรมที่จะจัดการกับตนเอง และสังคม จากความเร่งรีบเร่งด่วนในแต่ละวินาทีกับการดิ้นรนที่จะทำให้เรามีชีวิตอยู่นั้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมเราเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้ หากเราคิดกันดูให้ดีแล้วทุกๆ อย่างเกิดจาก “คน” ดังนั้นคนจึงต้องเป็นผู้แก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ถ้าหากเราจะมองลึกลงไปในเรื่องของคนแล้ว คนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมที่จะสามารถทำให้สังคมหรือเมืองมีความน่าอยู่หรือไม่ ฉะนั้นคนเราจึงต้องใฝ่หาคุณธรรม หรือธรรมมะที่จะทำให้เราเห็นถึงคุณค่าของคน
หากกล่าวถึงคุณธรรมหรือธรรมะที่จะทำให้เห็นความสำคัญและคุณค่าของคนแล้ว มีคุณธรรมอยู่ 3 ประการ คือ ความจริง ความงาม และความดี ซึ่งได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจดังต่อไปนี้

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มารู้จักกับกฏสามส่วน (Rule of Third)

     หลักของการจัดวางองค์ประกอบภาพให้ภาพที่เราถ่ายออกมาน่าสนใจมากขึ้นซึ่งก็คือ “กฎสามส่วน (Rule of Third)หรือ กฎจุดตัดเก้าจุด” ซึ่งหมายถึง การแบ่งภาพออกเป็นสามส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน จากนั้นใช้เส้นแบ่งส่วนเป็นเส้นไกด์ในการวางองค์ประกอบของภาพ โดยนิยมจัดวางตจำแหน่งจุดเน้นหรือจุดสนใจของภาพไว้ในตำแหน่งจุดตัดของเส้นแบ่งส่วน และใช้เส้นแบ่งส่วนเป็นเส้นแบ่งพื้นกับผนัง หรือ แบ่งพื้นดินกับท้องฟ้าเป็นต้น

การจัดองค์ประกอบภาพ

เออวิง เพนท์ นักถ่ายภาพบุคคลและโฆษณาเคยกล่าวไว้ว่า "ภาพที่ดีต้องเปิดตามผู้ดูให้ลุกโพลง" การที่เราจะสรต้างภาพที่ดีต้องประกอบไปด้วย ความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ และศิลปะในการจัดวางภาพ ดังนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาในการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายไม่ยิ่งหย่อยไปกว่าเรื่องอื่นๆ หลักในการจัดองค์ประกอบเบื้องต้นที่จะกล่าวถึงมีสิ่งที่สังเกตจากการมองเห็น โครงสร้างขององค์ประกอบภาพถ่าย การจัดองค์ประกอบภาพทิวทัศน์ การจัดองค์ประกอบแบบใช้กฎสามส่วน และการจัดองค์ประกอบแบบให้กฎอัตราส่วนทองคำ
สิ่งที่สังเกตได้จากการมองเห็น
การที่นักถ่ายภาพสามารถใช้กล้อง และเข้าใจกระบวนการเกิดภาพของภาพถ่ายที่ดีแล้ว ควรจะมีสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งคือมุมมองในการจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อให้ภาพนั้นสื่อกับผู้มองภาพโดยไม่น่าเพื่อ การมองสามารถแยกเป็นสิ่งที่สังเกตได้จากวัตถุจำแนกได้พอสังเขปดังนี้
  1. รูปร่าง (Shape) และช่องว่าง (Space)
  2. รายละเอียดพื้นผิว (Texture)
  3. รูปทรง (Form)
  4. แพทเทิร์น (Pattern)
  5. เส้น (Line) และทิศทาง (Direction) บอกระยะไกล้ ไกล
  6. สี (Color)

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การปรับค่าที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ

ISO หรือความไวแสง เช่น ISO100, ISO400, ISO1600 เป็นต้น —ค่าความไวแสยิ่งต่ำยิ่งคมชัด มีนอยส์ (เม็ดเกร็น) เกิดขึ้นน้อย แต่จะทำให้ความเร็วชัตเตอร์ตำลง ในทางกลับกัน ถ้า ISO สูงขึ้น ความเร็วชัตเตอร์ก็จะสูงขึ้น แต่ผลของภาพที่ได้ มีโอการเกิดน๊อยส์เยอะขึ้น โดยเฉพาะบริเวณเงา




วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ช่วงความคมชัด ( Depth of field )


จากการหรี่หรือขยายขนาดช่องรับแสงนั้น จะมีผลเกิดผลพิเศษกับภาพถ่ายขึ้น คือ เกิด ช่วงความคมชัดของภาพ กล่าวคือถ้าเปิดขนาดช่องรับแสงกว้างมาก ช่วงความคมชัดในการถ่ายภาพจะน้อยลง และถ้าหรี่ขนาดช่องรับแสงให้เล็กลง ช่วงความคมชัดก็จะมากขึ้น